top of page
ค้นหา
omly1993

หนุมานาสนะ / Monkey Pose / Hanumanasana

อัปเดตเมื่อ 10 พ.ค. 2564


Yoga Poses


หนุมานาสนะ / Monkey Pose / Hanumanasana

หนุมานเป็นชื่อของพญาวานรซึ่งมีพละกำลังมหาศาลและมีความห้าวหาญเหนือธรรมดา เป็นบุตรของวายุเทพ (เทพเจ้าแห่งลม) กับนางอัญชนา หนุมานเป็นทั้งสหายและทหารรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของรามะ (พระราม) ซึ่งเป็นอวตารที่เจ็ดของพระวิษณุ เมื่อพระรามรวมทั้งสีตา (นางสีดา) ผู้เป็นชายาและพระอนุชาของพระองค์ คือลักษมณะ (พระลักษณ์) เสด็จไปบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าทัณฑกะ ราวณะ (ทศกัณฐ์) กษัตริย์อสูรแห่งกรุงลังกา (ศรีลังกา) แปลงร่างเป็นฤๅษีผ่านกระท่อมคนทั้งสาม และลักพาสีตาไปยังกรุงลังกาในระหว่างที่รามะและลักษมะกำลังล่าสัตว์

รามะและลักษมณะทรงนหาสีตาไปทั่ว ทั้งยังขอความช่วยเหลือจากราแห่งวานรคือสุครีวะ (สุครีพ) และหนุมานซึ่งเป็นทหารเอก หนุมานค้นหาสีดาโดยกระโดดข้มทะเล จนพบสีตาในวังของราวณะ จึงไปกราบทูลรามะ รามะทงสร้างสะพานหินข้ามทะเลด้วยความช่วยเหลือของกองทัพวานร ทรงรบกับกองทัพของราวณะ สังหารราวณะ และทรงช่วยเหลือสีตาได้ในที่สุด

ระหว่างทำสงคราม ลักษมณะถูกยิงด้วยศรจนสลบ ซึ่งกล่าวกันว่ามีเพียงน้ำคั้นจากสมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นในภูเขาหิมาลัยเท่านั้นที่จะสามารถรักษาได้ หนุมานจึงกระโดดข้ามทะเลไปยังภูเขาหิมาลัย และแบกยอดเขาซึ่งมีสมุนไพรที่ชุบชีวิตได้กลับมาจนสามารถช่วยชีวิตลักษมณะไว้ได้

อาสนะนี้อุทิศแด่หนุมาน และยังเป็นการรำลึกถึงก้าวกระโดดแห่งตำนานของหนุมานด้วย ท่านี้ฝึกโดยการแยกขาไปข้างหน้าและหลัง มือพนมไว้ตรงหน้าอก คล้ายกับท่าแยกขาในการเต้นบัลเล่ต์ของตะวันตก



วิธีปฏิบัติ

1. คุกเข่าลงบนพื้น

2. วางฝ่ามือทั้งสองข้างห่างกันหนึ่งฟุตบนพื้นข้างตัว

3. ยกเข่าขึ้น เคลื่อนขาขวาไปข้างหน้าและขาซ้ายไปข้างหลัง หายใจออกพร้อมกับเหยียดขาทั้งสองข้างให้ตรงและยกสะโพกขึ้น จากนั้นกดขาและสะโพกลงกับพื้นโดยอาศัยมือทั้งสองช่วยรับน้ำหนัก

4. ท่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกนาน และต้องใช้ความพยายามฝึกหลายครั้งในแต่ละวันเพื่อวางขาให้เหยียดตรงบนพื้นโดยให้กันแตะพื้น ด้านหลังของขาที่อยู่ข้างหน้าและด้านหน้าของขาที่อยู่ข้างหลังควรแตะพื้นเช่นกัน

5. เมื่อสามารถเหยียดขาได้ตรงแล้ว ยกมือพนมตรงหน้าอกและทรงตัว ค้างอยู่ในท่วงท่า 10-30 วินาทีโดยหายใจตามปกติ

6. จากนั้นใช้มือยันพื้นเพื่อยกสะโพกขึ้นและทำท่าซ้ำ โดยเหยียดขาซ้ายไปข้างหน้าและขาขวาไปข้างหลัง ค้างอยู่ในท่วงท่เป็นระยะเวลาเท่ากัน

7. พึงระลึกว่าบริเวณขาพับของขาที่อยู่ข้างหน้า และหัวเข่าของขาที่อยู่ข้างหลังควรแตะพื้น

8. ผู้ที่ฝึกจนชำนาญแล้ว อาจยกมือขึ้นเหนือศีรษะ เหยียดแขนขึ้น ฝ่ามือชิดกันและทรงตัว วิธีนี้จะเพิ่มการเหยียดยึดของยา และลดความตึงที่หลัง


ประโยชน์

ท่าที่สง่างามนี้จะช่วยรักษาอาการปวดร้าวสะโพกและขา รวมทั้งความผิดปกติอื่นๆ ของขา เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ทำให้ขาอยู่ในสภาพปกติ ช่วยผ่อนคลายและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาส่วนที่ทำหน้าที่กางขา (กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์) ท่นี้เป็นท่าที่นักวิ่งมารารอนและนักวิ่งระยะสั้นควรฝึกอย่างสม่ำเสมอ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ประทีปแห่งโยคะ Light on Yoga by BKS. Iyengar.

ดู 17 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page